ดิจิทัล ไซเนจ (Digital Signage) คือจอแสดงผลดิจิทัลที่ใช้ถ่ายทอดข้อมูล แจ้งข่าวสาร หรือข้อความต่างๆ ให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจ และช่วยโน้มน้าวให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ค้าปลีกหรือผู้ลงโฆษณากลุ่มแรกๆ ที่นำ LED Display มาใช้นั่น มีจุดประสงค์ คือ การโฆษณาสินค้า, โปรโมชั่น หรือให้ข้อมูลต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็น ด้วยภาพ, วิดีโอ, เสียงประกอบ และเนื้อหาที่น่าสนใจ ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันผู้ค้าปลีกได้ขยายแนวคิดการแสดงสินค้าลงไปภายในจอแสดงผลดิจิทัล เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้กับธุรกิจ หรือโปรโมทสินค้าในร้านค้าให้เกิดความน่าสนใจ
การทำงานของ ดิจิทัล ไซเนจ?
ปัจจุบัน! เมื่อราคาของจอแสดงผล, ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ลดลงไปมาก องค์กรส่วนต่างๆ ก็เริ่มหันมาใช้งานจอโฆษณาดิจิทัลกันมากขึ้น ในยุคที่เทคโนโลยีทันสมัยจึงกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลากหลายบริษัทจะให้ความสนใจดิจิทัล ไซเนจ และนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เพื่อสร้างความทันสมัย และภาพลักษณ์ เปรียบเปรยง่ายๆ ไม่ต่างจากบริษัทที่ไม่มีเว็บไซต์มักถูกมองว่าไม่น่าเชื่อถือ องค์กรที่ไม่มีดิจิทัล ไซเนจ ก็อาจถูกมองว่าล้าสมัย และไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในยุคสมัยปัจจุบัน
ส่วนองค์ประกอบของดิจิทัล ไซเนจ หลายคนอาจอยากรู้กระบวนการทำงานของมัน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร หรือร้านของเรา ซึ่งการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเป็นการรวมกันของจอแสดงผล, ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ เพื่อถ่ายทอดข้อมูล และข้อความ ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. จอแสดงผล:
- การแสดงผล จอแสดงผลจะทำหน้าที่ในการแสดงเนื้อหาที่ถูกส่งจากระบบ CMS (Content Management System) เนื้อหานี้อาจประกอบด้วยข้อความ, ภาพ, วิดีโอ หรือกราฟิกต่างๆ
- ประเภทของจอแสดงผล ปัจจุบันมีหลากหลายให้เลือกใช้ทั้ง LCD, LED, ป้ายโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์, กระดานข้อความแบบเลื่อน, จอฉายภาพ, วิดีโอวอลล์, ทีวี และอุปกรณ์เคลื่อนที่เช่น แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน
2. ซอฟต์แวร์:
- ระบบจัดการเนื้อหา (CMS) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้าง, จัดการ และควบคุมเนื้อหาที่จะแสดงบนจอแสดงผล โดยระบบ CMS ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถอัปเดทเนื้อหา, ตั้งเวลาการแสดงผล หรือจัดระเบียบเนื้อหาตามความต้องการ
- เครื่องมือสร้างเนื้อหา ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ และสร้างเนื้อหาก่อนนำเสนอ เช่น โปรแกรมกราฟิก Adobe Illustrator หรือ Adobe Photoshop และโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ Adobe Premiere Pro หรือ Adobe After Effects เป็นต้น
3. ฮาร์ดแวร์:
- เซิร์ฟเวอร์ และคอมพิวเตอร์ ใช้ในการจัดเก็บ และส่งเนื้อหาไปยังจอแสดงผล เซิร์ฟเวอร์สามารถเป็นแบบ Local ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของระบบ
- ตัวเล่นวิดีโอ (Media Players) อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับจอแสดงผล และรับข้อมูลจากระบบ CMS เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่กำหนด
- อุปกรณ์เชื่อมต่อ และเครือข่าย ได้แก่ เราเตอร์, โมเด็ม และสายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับจอแสดงผล
ขั้นตอนการทำงาน การสร้าง และการจัดการเนื้อหา ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบเนื้อหา และระบบ CMS สำหรับการจัดการ
- การส่งเนื้อหา: ข้อมูลจะถูกส่งจากระบบ CMS ผ่านเครือข่ายไปยังตัวเล่นดิจิทัล
- การแสดงผล: เล่นดิจิทัลส่งข้อมูลไปยังจอแสดงผลเพื่อทำการแสดงเนื้อหาที่สร้างขึ้น
- การควบคุม และตรวจสอบ: ผู้ดูแลระบบสามารถควบคุม และตรวจสอบการทำงานของระบบจากระยะไกลผ่านระบบ CMS โดยระบบ ดิจิทัล ไซเนจ จึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการรวมกันของจอแสดงผลที่หลากหลาย, ซอฟต์แวร์การจัดการและสร้างเนื้อหา หรือฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ในการส่งและแสดงข้อมูล
ทำไมเราควรใช้ ดิจิทัล ไซเนจ?
หากคุณยังไม่เห็นความสำคัญของจอแสดงผลดิจิทัล เราอยากให้คุณลองสังเกตสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณดู สิ่งที่คุณเห็นตามพื้นที่สาธารณะ เช่น ป้ายรถเมล์, ร้านอาหาร, ธนาคาร หรือสนามบิน มักจะมีจอโฆษณาที่แสดงเนื้อหาดิจิทัล เช่น ข่าวสาร โฆษณา หรือข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการใช้
ดิจิทัล ไซเนจ จึงถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้นในยุคที่หน้าจอเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือทีวี ผู้คนมักจะจ้องมองที่หน้าจอเหล่านี้อยู่เสมอ ดังนั้น การใช้ดิจิทัล ไซเนจในการแสดงข้อมูล หรือโฆษณาจึงเป็นวิธีที่มีความเป็นธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้ชม
การดึงดูดความสนใจเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร แม้ว่าคุณจะส่งอีเมลออกไป แต่ถ้าผู้คนไม่สังเกตหรือไม่รับรู้ข้อความนั้นก็ไม่มีประโยชน์ การใช้จอแสดงผลดิจิทัลช่วยให้การสื่อโฆษณามีความโดดเด่น และน่าสนใจ ทำให้ผู้ชมมีโอกาสเห็น และรับข้อมูลมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการตลาด และการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรหรือธุรกิจ
นอกจากนี้ การใช้จอโฆษณาดิจิทัล ยังมีข้อดีที่เหนือกว่าวิธีการนำเสนอเนื้อหาแบบภาพนิ่ง หรือข้อความที่คงที่ แบบอีเมล, โปสเตอร์ หรือป้ายประชาสัมพันธ์ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายกว่าดังนี้:
1.การดึงดูดด้วยการเคลื่อนไหว และแสง:
- หน้าจอสว่าง และแสดงการเคลื่อนไหว: ความสว่าง และการเคลื่อนไหวของจอแสดงผลดิจิทัลช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดีกว่าเนื้อหาที่คงที่ เนื่องจากการเคลื่อนไหว หรือแสงสามารถจับตามองได้ง่าย และน่าสนใจมากกว่า
2.การใช้เสียงเพิ่มความน่าสนใจ:
- สามารถเพิ่มเสียงได้: การใช้เสียงประกอบ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด หรือเอฟเฟกต์เสียง ทำให้การสื่อสารมีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยดึงดูดความสนใจและเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ชม
3.การแสดงผลที่หลากหลาย:
- แสดงหลายสิ่งพร้อมกัน: หน้าจอสามารถแสดงหลายเนื้อหาพร้อมกัน เช่น ข้อความ ภาพ และวิดีโอ ทำให้การนำเสนอข้อมูลมีความหลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น
4.ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลง:
- การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้ตลอดวัน: เนื้อหาบนหน้าจอสามารถอัปเดต และเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด ช่วยให้การนำเสนอข้อมูลสามารถปรับตัวให้ตรงตามความต้องการและสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
5.ความคุ้มค่าในการใช้งาน:
- ราคาถูกกว่าการพิมพ์: การใช้ดิจิทัล ไซเนจมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการพิมพ์หลายๆ ฉบับ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการนำเสนอข้อมูลหรือโฆษณาสำหรับผู้ชมจำนวนมาก
6.ความหลากหลายในการเข้าถึงผู้ชม:
- มองเห็น: สำหรับผู้ที่ตอบสนองต่อภาพและวิดีโอ
- ได้ยิน: สำหรับผู้ที่ตอบสนองต่อเสียงประกอบหรือดนตรี
- การโต้ตอบทางกายภาพ: สำหรับผู้ที่ชอบสัมผัส และโต้ตอบกับหน้าจอสัมผัส
การใช้งานจอโฆษณาทำให้คุณสามารถเข้าถึง และตอบสนองต่อผู้ชมที่มีความหลากหลาย และความชอบที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การสื่อสารของคุณมีความน่าสนใจ และดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความคุ้มค่า และนำเสนอข้อมูล หรือโฆษณาของคุณได้มีประสิทธิภาพสูงสุด.
อ่านต่อ: ไอเดีย & คอนเทนต์โดนใจ ดิจิทัล ไซเนจ สำหรับกลุ่มธุรกิจต่างๆ