การออกแบบป้ายดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงหลายแง่มุมเพื่อให้การสื่อสารได้ผลดี และดึงดูดความสนใจของผู้ชม ไม่เพียงแต่การออกแบบกราฟิก หรือจำนวนคำในข้อความ แต่ยังมีประเด็นสำคัญอีกมากที่คุณควรพิจารณา ดังนี้
- จะสื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพใน 10 วินาที?
การออกแบบเนื้อหาควรช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าใจสาระสำคัญได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจนในเวลาเพียงสิบวินาที - ช่วยให้ผู้ชมจดจำข้อความที่เห็นได้อย่างไร?
การออกแบบเนื้อหาที่มีพลัง และจดจำง่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ชมสามารถรับข้อมูลได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ขณะมองเห็น หรือผ่านตา - ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่กำลังผ่านไปด้วยวิธีไหน?
เนื้อหาควรดึงดูดความสนใจของผู้ชมที่เดินผ่านไปมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องพบเจอกับสื่อ และข้อมูลอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มือถือ โฆษณาสิ่งพิมพ์ และการตลาดดิจิทัล
ผู้คนมีสิ่งที่ดึงความสนใจอยู่รอบตัว การทำให้พวกเขาสนใจเนื้อหา จดจำแบรนด์ และสินค้าของคุณเป็นความท้าทายที่สำคัญ บทความนี้จึงออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาที่โดดเด่น ดึงดูด และทำให้ผู้ชมไม่สามารถมองข้ามได้
ออกแบบให้ต่างจากงานพิมพ์
การเปลี่ยนจากงานออกแบบงานพิมพ์ ไปสู่การออกแบบเนื้อหาสำหรับดิจิทัล ไซเนจ (Digital Signage) มีความแตกต่างสำคัญหลายประการที่นักออกแบบควรใส่ใจ เพื่อให้ผลงานนั้นออกมามีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับรูปแบบของการแสดงผลบนจอ ผู้ออกแบบควรรู้เรื่องหลักๆ ดังนี้
- คำนวณด้วย Pixel ไม่ใช่ DPI
หากคุณเป็นนักออกแบบงานพิมพ์ คุณต้องเข้าใจว่าการออกแบบดิจิทัล ไซเนจนั้นแตกต่างอย่างมาก เพื่อคมชัดและรายละเอียดของภาพ คุณต้องคำนวณด้วยหน่วยPixel สี RGB และขนาดหน้าจอที่เหมาะสมกัน - ทำให้เนื้อหาเคลื่อนไหว
ข้อได้เปรียบหลักของป้ายดิจิทัลเหนือโปสเตอร์ที่พิมพ์คือความไดนามิก การเคลื่อนไหวสามารถดึงดูดสายตา และการวางวิดีโอใกล้กับข้อความนิ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการอ่านข้อความได้มากขึ้น - ใช้ฟีเจอร์แบ่งช่วงเวลา (Dayparting)
ฟีเจอร์แบ่งช่วงเวลาของซอฟต์แวร์จัดการเนื้อหา ช่วยให้กำหนดเพลย์ลิสต์ที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละช่วงเวลาในหนึ่งวัน เพิ่มความหลากหลายให้กับเนื้อหา และปรับให้เหมาะกับผู้ชมกลุ่มต่างๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน - ทำเลที่ตั้งคือทุกสิ่ง
หน้าจออาจถูกติดตั้งไว้บนกำแพง หรือตึกสูงที่ต้องอ่านจากระยะไกล ดังนั้นควรออกแบบเนื้อหาโดยคำนึงถึงตำแหน่งการมองเห็น หากไม่มีใครสามารถอ่านเนื้อหาได้ เนื้อหานั้นก็จะไม่มีประโยชน์ - ใส่คำกระตุ้นการตัดสินใจเสมอ (Call to Action)
เนื่องจากผู้ชมไม่สามารถถือหน้าจอไปได้เหมือนการพกคูปอง แต่ละข้อความบนป้ายดิจิทัลจึงควรมีคำกระตุ้นให้ผู้ชมทำบางอย่าง เช่น เยี่ยมชมเว็บไซต์ ถ่ายรูป หรือแชร์บางสิ่ง เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วม
อย่างไรก็ตาม การออกแบบสำหรับป้ายดิจิทัลยังคงมีความสนุก และความคิดสร้างสรรค์มากเทียบเท่าการออกแบบสำหรับงานพิมพ์ หรืออาจมากกว่านั้น เนื่องจากคุณสามารถเพิ่มการเคลื่อนไหวเข้าไปได้
เรามีคำแนะนำเคล็ดลับการออกแบบที่ต้องมีพื้นฐานด้านเทคนิคเล็กๆน้อยๆ มาฝากกันครับ
รู้จักกับอัตราส่วน และความละเอียดการแสดงผลของดิจิทัล ไซเนจ
การเข้าใจอัตราส่วนภาพและความละเอียดการแสดงผลของป้ายดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบเนื้อหาให้ดูมีคุณภาพและเหมาะสมกับหน้าจอที่ใช้งาน นี่คือข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้
อัตราส่วนภาพ คืออัตราส่วนระหว่างความกว้าง และความสูงของภาพ โดยมีอัตราส่วนที่พบบ่อยดังนี้
- 4:3: ใช้สำหรับมาตรฐานความละเอียดปกติ
- 16:9: ใช้สำหรับความละเอียดสูง หรือจอกว้าง (widescreen)
- 9:16: ใช้สำหรับการแสดงผลแนวตั้ง (portrait)
ความละเอียด หมายถึงจำนวนคอลัมน์และแถวของพิกเซลที่ใช้สร้างภาพ โดยเขียนเป็น “ความกว้าง x ความสูง” เช่น
- 1280×768: ความละเอียดที่พบบ่อยสำหรับหน้าจอขนาดใหญ่
- 1366×768: ความละเอียดอีกหนึ่งมาตรฐานที่นิยมใช้
ข้อควรระวัง
- การตรวจสอบสเปค: ควรตรวจสอบสเปคการแสดงผล และการตั้งค่าของซอฟต์แวร์ตลอดกระบวนการออกแบบ เพราะซอฟต์แวร์ของดิจิทัล ไซเนจ มักมีหลายจุดให้เลือกอัตราส่วนภาพ หรือกำหนดความละเอียด
- การตั้งค่าฮาร์ดแวร์: บางครั้งอาจต้องตั้งค่าพารามิเตอร์เหล่านี้สำหรับฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องเล่นสื่อ (media player)
- ทดสอบความละเอียด: หากใช้กลุ่มหน้าจอที่แสดงเนื้อหาเดียวกัน ความละเอียดของแต่ละหน้าจออาจไม่เหมือนกัน ควรทดสอบว่าเนื้อหาของคุณแสดงผลได้ดีบนหน้าจอแต่ละจอหรือไม่
- การออกแบบเนื้อหา: เมื่อคุณมีหลายหน้าต่างที่แสดงเนื้อหาบนหน้าจอเดียวกัน คุณควรออกแบบเนื้อหาให้ตรงกับอัตราส่วนภาพ และความละเอียดของแต่ละหน้าต่าง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการบีบ หรือขยายภาพโดยซอฟต์แวร์ ซึ่งอาจทำให้เกิดเส้นขอบสีดำรอบวิดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหว
- การเตรียมความพร้อม: ก่อนเริ่มออกแบบโปรโมชันสำหรับงานอีเว้นต์ ควรพิจารณาอัตราส่วนภาพ และความละเอียดที่เหมาะสม โดยตั้งค่าตามค่าเริ่มต้นที่หน้าจอมีอยู่ เพื่อให้การแสดงผลของเนื้อหาดูสวยงาม และมีคุณภาพดีที่สุด
แนวทางในการออกแบบตามมาตรฐานแบรนด์
1.โลโก้
- ใช้ไฟล์โลโก้ที่มีความละเอียดสูง เพื่อให้แสดงผลคมชัดบนจอทุกขนาด
- หากโลโก้มีพื้นหลังสี ควรออกแบบให้พื้นหลังกลมกลืนกับธีม หรือเลือกใช้ไฟล์โลโก้ที่โปร่งใส
2. สีมาตรฐานของแบรนด์
- หากองค์กรมีสี PMS (Pantone Matching System) ที่ใช้ในงานพิมพ์ ให้เลือกสี RGB ที่ใกล้เคียงเพื่อใช้ในสื่อดิจิทัล
- เลือกใช้สีประมาณ 6-8 สีเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการออกแบบ และคุมโทนให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์
3.ฟอนต์
- ใช้ฟอนต์ที่สะท้อนถึงสไตล์ขององค์กร และได้รับการอนุมัติ เช่น ฟอนต์ที่ดูเป็นทางการสำหรับองค์กร หรือฟอนต์ที่สนุกและผ่อนคลายสำหรับแบรนด์ที่ต้องการเน้นความเป็นกันเอง
- จำกัดการใช้ฟอนต์ในหนึ่งดีไซน์ไม่เกินสองแบบ เพื่อไม่ให้เนื้อหาดูรก และยุ่งยากในการอ่าน
4.ความสม่ำเสมอในการสื่อสาร
- ถึงแม้ว่าจะใช้สี หรือฟอนต์ที่แตกต่างกันเพื่อสร้างความน่าสนใจ แต่การคงไว้ซึ่งธีมที่สอดคล้องกันจะช่วยให้เนื้อหามีเอกลักษณ์ และเป็นที่จดจำได้ง่าย
5.การขอคำปรึกษา
- หากไม่แน่ใจในมาตรฐานแบรนด์ ควรปรึกษากับฝ่ายการตลาด การสื่อสาร หรือฝ่าย PR ขององค์กร เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับอัตลักษณ์ขององค์กร และมาตรฐานที่ควรใช้
6.ธีม หรือเทมเพลต
- ช่วยให้นักออกแบบ ออกแบบเนื้อหาได้ง่าย
- ทำให้นักออกแบบเข้าถึงเฉพาะดีไซน์ที่ได้รับการอนุมัติ และยังทำให้จอแสดงผลดูมืออาชีพ และสอดคล้องกับอัตลักษณ์องค์กร
การสื่อสารผ่านการเล่าเรื่อง
การสื่อสารผ่านการเล่าเรื่องสำหรับดิจิตอล ไซเนจ ถือเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ผู้ชมรู้สึกเชื่อมโยงกับเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ข้อความสื่อสารของคุณน่าสนใจและน่าจดจำมากขึ้น โดยการออกแบบเนื้อหาเป็นเรื่องราวที่มีความต่อเนื่อง และดึงดูด เนื้อหาที่มีเรื่องราวจะสร้างความตื่นเต้น และความเข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการสื่อได้ดียิ่งขึ้น
โครงสร้างการเล่าเรื่อง
- ชีวิตประจำวัน: เริ่มต้นด้วยการแสดงภาพที่ผู้ชมเข้าใจ และคุ้นเคย เช่น สถานการณ์ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
- เข้าร่วมเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น: สร้างเหตุการณ์ หรือจุดเปลี่ยนที่ชวนให้คิดถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น ประโยชน์ที่ผู้ชมจะได้รับจากการทำบางสิ่ง
- หลังจากการเข้าร่วมเหตุการณ์ต่างๆ: แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์เชิงบวกที่เกิดขึ้นหลังการลงมือทำ ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมได้
แนวทางการพัฒนาเรื่องราว
- ทำเรื่องซับซ้อนให้เรียบง่าย: สรุปเนื้อหา หรือข้อคิดหลักๆ ให้เข้าใจง่าย ชัดเจน
- สร้างสตอรีบอร์ด (Storyboard): จัดลำดับภาพ และเนื้อหาว่าควรเล่าเรื่องแบบไหน เพื่อให้ผู้ชมรับรู้ และติดตามเนื้อหาได้ครบถ้วน
- ออกแบบเนื้อหา: ใช้สื่อหลากหลายผสมผสานกัน เช่น ข้อความ วิดีโอ กราฟิก หรือแท็ก QR ที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์ และควรให้เนื้อหาเหล่านี้มีสไตล์ที่สอดคล้องกัน เช่น สีหรือภาพที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกว่าเป็นเรื่องเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบ
สิ่งสำคัญคือการมีเรื่องราวตอนท้ายที่จบแบบชัดเจน โดยให้ผลลัพธ์หรือข้อคิดที่ผู้ชมสามารถนำไปใช้ได้ การแสดงความจริงใจ และความเป็นมิตรจะช่วยเสริมความรู้สึกที่ดีกับผู้ชม และทำให้เขารู้สึกเชื่อมโยงกับเนื้อหาของคุณ
บทสรุป
มาตรฐานการออกแบบเนื้อหาดิจิทัลไซเนจมุ่งเน้นการสื่อสารที่ชัดเจน ดึงดูด และสร้างความประทับใจในเวลาอันสั้น เนื้อหาควรตอบโจทย์ด้านความสวยงาม และความเป็นมืออาชีพ สอดคล้องกับเอกลักษณ์องค์กร พร้อมทั้งกระตุ้นให้ผู้ชมมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณต้องการคำปรึกษาจากมืออาชีพในเรื่องการออกแบบ Digital Signage หรือต้องการคำปรึกษาจาก MEGA PLUS ติดต่อเรา MEGA PRODUCTIONS ได้เลย! เราเป็นผู้เชี่ยวชาญ และให้บริการในด้าน Creative Design, Booth Exhibition และ Event Organizer ด้วยทีมงานมืออาชีพ มีความชำนาญ และใส่ใจในทุกๆ รายละเอียด พร้อมให้บริการ และดูแลลูกค้าทุกขั้นตอนจนจบงานให้เรียบร้อย “เพราะความสำเร็จของคุณ คือความสำเร็จของเราเช่นกัน”